เมนู

สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์


อารัมภกถา


พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะ ทรงเห็น
สัจจะทั้ง 4 จึงทรงประกาศพระธรรมสังคณี
4 กัณฑ์ (คือ จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์
นิกเขปกัณฑ์ อัตถุทธารกัณฑ์) แล้ว ทรงเป็น
นายกประกอบด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า 18
ประการ ทรงเป็นพระบรมศาสดา แสดง
พระวิภังค์อันใด ด้วยอำนาจวิภังค์ 18 ประ-
การ มีขันธวิภังค์เป็นต้น ในลำดับแห่ง
พระธรรมสังคณีนั่นแหะ บัดนี้ลำดับ
แห่งการสังวรรณนาพระวิภังค์นั้น ถึงพร้อม
แล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าสะสางนัย
อรรถกถาโบราณแล้วจักเรียบเรียงอรรถกถา
พระวิภังค์นั้น ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจง
ตั้งใจทำความเคารพพระสัทธรรม ฟังอรรถ-
กถาพระวิภังค์นั้น เทอญ.

1. ขันธวิภังคนิเทศ


วรรณาสุตตันตภาชนีย์


คำว่า ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ดังนี้ นี้ ชื่อสุตตันตภาชนีย์1 ในขันธวิภังค์
อันเป็นวิภังค์ต้นแห่งวิภังค์ปกรณ์. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า 5 เป็นคำ
กำหนดจำนวน ด้วยคำว่า 5 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ขันธ์
ทั้งหลายมีไม่น้อยกว่านั้นไม่มากกว่านั้น. คำว่า ขันธ์ เป็นคำแสดงธรรมที่ทรง
กำหนดไว้.

ว่าด้วยขันธ์ศัพท์


ในพระบาลีขันธวิภังค์นั้น ศัพท์ว่า ขันธ์ (ขนฺธสทฺโท) นี้ใช้ใน
ฐานะมาก คือ ในฐานะว่า กอง (ราสิมฺหิ) ในฐานะว่า คุณ (คุเณ)
ในฐานะโดยเป็นบัญญัติ (ปณฺณตฺติยํ) ในความเป็นคำติดปาก (รุฬฺหิยํ).
จริงอยู่ ชื่อว่า ขันธ์ โดยฐานะว่า กอง เหมือนในประโยคมีคำ
เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหา-
สมุทรว่า มีน้ำเท่านี้อาฬหก หรือว่าเท่านี้ร้อยอาฬหก หรือว่าเท่านี้
พันอาฬหก หรือว่าเท่านี้แสนอาฬหก ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย โดยที่แท้
ย่อมถึงการนับว่า เป็นมหาอุทกขันธ์ ( กองน้ำใหญ่ ) อันใคร ๆ พึงนับ
ไม่ได้ พึงประมาณไม่ได้ทีเดียว แม้ฉันใด
ดังนี้2 เพราะมิใช่น้ำ
1. คำว่า สุตตันตภาชนีย์ คือ คำที่จำแนกโดยนัยที่ทรงแสดงในพระสูตร
2. อง จตุกฺก เล่ม 21 51/72 คำว่า อาฬหก เป็นชื่อกำหนดนับโดยการตวงของ เช่น
4 กำมือเป็น 1 ฟายมือ 2 ฟายมือเป็น 1 กอบ 2 กอบเป็น 1 ทะนาน 4 ทะนานเป็น
1 อาฬหก